Thursday, March 7, 2013

เหตุเศร้าโศกของนรชน

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค 

๘. นันทนสูตร

ว่าด้วยเหตุเศร้าโศกของนรชน

[๔๓๗]
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน  อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ฯ

[๔๓๘]
ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า

คนมีบุตร ย่อมเพลิดเพลินเพราะบุตร
คนมีโคก็ย่อมเพลิดเพลินเพราะโค
ฉันนั้นเหมือนกัน อุปธิทั้งหลายนั่นแล เป็นเครื่องเพลิดเพลินของนรชน
เพราะคนที่ไม่มีอุปธิหาเพลิดเพลินไม่ ฯ

[๔๓๙]
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า นี่มารผู้มีบาป จึงได้ ตรัสกะมารผู้มีบาปด้วยพระคาถาว่า

คนมีบุตร ย่อมเศร้าโศกเพราะบุตร
คนมีโคก็ย่อมเศร้าโศกเพราะโค
ฉันนั้นเหมือนกัน อุปธิทั้งหลายนั่นแล เป็นเหตุเศร้าโศกของนรชน
เพราะคนที่ไม่มีอุปธิ หาเศร้าโศกไม่ ฯ 

ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เป็นทุกข์ เสียใจว่า พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้จักเรา ดังนี้ จึงได้อันตรธานไปในที่นั้นเอง ฯ

--------------------------------------

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๕
สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๗ สํยุตฺตนิกายสฺส สคาถวคฺโค

อฏฺฐมํ นนฺทนสุตฺตํ

[๔๓๗]
เอวมฺเม   สุตํ   เอกํ  สมยํ  ภควา  สาวตฺถิยํ  วิหรติ เชตวเน อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ฯ

[๔๓๘]
อถ โข มาโร ปาปิมา เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควโต สนฺติเก อิมํ คาถํ อภาสิ

นนฺทติ ปุตฺเตหิ  ปุตฺติมา
โคมิโก โคหิ ตเถว นนฺทติ
อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา
น หิ โส นนฺทติ โย นิรูปธีติ ฯ

[๔๓๙]
โสจติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา
โคมิโก โคหิ ตเถว โสจติ
อุปธีหิ นรสฺส โสจนา
น หิ โส โสจติ โย นิรูปธีติ ฯ


อถ โข มาโร ปาปิมา ชานาติ มํ ภควา ชานาติ มํ สุคโต ติ ทุกฺขี ทุมฺมโน ตตฺเถวนฺตรธายีติ ฯ

--------------------------------------

อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นันทนวรรคที่ ๒ นันทิสูตรที่ ๒

อรรถกถานันทิสูตรที่ ๒         
 
พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๒ ต่อไป :

บทว่า นนฺทติ แปลว่า ย่อมยินดี คือ ย่อมมีใจเป็นของๆ ตน.

บทว่า ปุตฺติมา ได้แก่ มีบุตรมาก.

จริงอยู่ บุตรบางพวกทำกสิกรรมแล้ว ย่อมยังยุ้งข้าวเปลือกให้เต็ม บางพวกทำการค้าแล้วย่อมนำเงินและทองมา บางพวกบำรุงพระราชา ย่อมได้วัตถุทั้งหลายมียานพาหนะ คามนิคมเป็นต้น. มารดาหรือบิดาเมื่อเสวยสิริอันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งบุตรเหล่านั้น ย่อมยินดี.

อีกอย่างหนึ่ง มารดาหรือบิดาเห็นบุตรทั้งหลายผู้อันบุคคลตกแต่งประดับประดา ทำให้เกิดความยินดี เสวยอยู่ซึ่งสมบัติในวันรื่นเริงเป็นต้น ย่อมยินดี. ด้วยเหตุนั้น เทวดาหมายเอาความเป็นไปนั้น จึงกล่าวว่า นนฺทติ ปุตฺเตหิ ปุตฺติมา แปลว่า คนมีบุตรย่อมยินดี เพราะบุตรทั้งหลายดังนี้.
บทว่า โคหิ ตเถว ความว่า คนมีบุตรย่อมยินดีเพราะบุตรฉันใด แม้คนมีโค ก็ฉันนั้น คนมีโคเห็นมณฑลแห่งโค (สนามโค) สมบูรณ์แล้ว เพราะอาศัยโคทั้งหลาย เสวยสมบัติ คือเบญจโครส จึงชื่อว่าย่อมยินดี เพราะโคทั้งหลาย.

บทว่า อุปธิ ในบทว่า อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา นี้ได้แก่ อุปธิ ๔ อย่าง คือ กามูปธิ (อุปธิคือกาม) ขันธูปธิ (อุปธิคือขันธ์) กิเลสูปธิ (อุปธิคือกิเลส) และอภิสังขารูปธิ (อุปธิคืออภิสังขาร).
จริงอยู่ แม้กามทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ เพราะวจนัตถะนี้ว่า ความสุขที่บุคคลเข้าไปตั้งไว้ในกามคุณนี้ ก็เพราะความที่กามเหล่านี้เป็นที่อาศัยอยู่แห่งความสุขดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ความสุข ความโสมนัสอันใดอาศัยกามคุณ ๕ เกิดขึ้น นี้ชื่อว่าความพอใจในกามทั้งหลาย [๑] ดังนี้.
[๑] เชิงอรรถ : ม. มู. เล่ม ๑๒/ข้อ ๑๙๗ มหาทุกฺขกฺขนฺธสุตฺต

แม้ขันธ์ทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่าอุปธิ เพราะความที่ขันธ์เหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ซึ่งมีขันธ์เป็นมูล. แม้กิเลสทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่าอุปธิ เพราะความที่กิเลสเหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ในอบาย. แม้อภิสังขารทั้งหลาย ก็ตรัสเรียกว่าอุปธิ เพราะความที่อภิสังขารเหล่านั้นเป็นที่อาศัยอยู่แห่งทุกข์ในภพ.
แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอากามูปธิ เพราะกามคุณ ๕ อันบุคคลบำรุงบำเรอด้วยอำนาจแห่งวัตถุทั้งหลายมีการอยู่ในปราสาท ๓ ฤดูเป็นต้น มีที่นั่งที่นอนอาภรณ์เสื้อผ้าอันโอฬาร มีบริวารคอยบำเรอด้วยการฟ้อนรำเป็นต้น เป็นเหตุนำมาซึ่งปิติโสมนัส ย่อมยังนระให้ยินดีอยู่ฉะนั้น บุตรทั้งหลายและโคทั้งหลายฉันใด พึงทราบว่า แม้อุปธิเหล่านี้ก็ฉันนั้น เพราะเป็นที่ยินดีของนระ. 

บาทแห่งคาถาว่า น หิ โส นนฺทติ โย นิรูปธิ ความว่า บุคคลใดไม่มีอุปธิ คือเว้นจากการถึงพร้อมด้วยกามคุณ เป็นผู้ขัดสน มีอาหารและเครื่องนุ่งห่มหาได้โดยยาก บุคคลนั้นแลย่อมยินดีไม่ได้.
ถามว่า มนุษย์เพียงดังเปรต มนุษย์เพียงดังสัตว์นรก เห็นปานนี้ จักยินดีอย่างไร.
ตอบว่า ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิสัชนาไว้แล้ว (ในคาถาที่ ๒๗)
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำ (อันเทวดากล่าว) นี้แล้ว ทรงพระดำริว่า เทวดานี้ย่อมทำเรื่องแห่งความเศร้าโศกนั่นแหละ ให้เป็นเรื่องน่ายินดี เราจักแสดงความที่สิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องแห่งความเศร้าโศกแก่เธอ ดังนี้ เมื่อจะทำลายวาทะของเทวดานั้น ด้วยอุปมานั้นนั่นเอง เหมือนบุคคลยังถ้อยคำอันเป็นเหตุผลให้ตกไปด้วยเหตุผล จึงทรงเปลี่ยนพระคาถานั้นนั่นแหละ แล้วตรัสว่า โสจติ เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสจติ ปุตฺเตหิ ความว่า เมื่อบุตรทั้งหลายสูญหายไปก็ดี เสื่อมเสียไปก็ดี ด้วยอำนาจแห่งการเดินทางไปต่างประเทศ แม้มีความสงสัยในบัดนี้ว่า จักสูญเสียไป มารดาและบิดาย่อมเศร้าโศก. อนึ่ง เมื่อบุตรตายแล้วก็ดี กำลังจะตายก็ดี หรือถูกราชบุรุษหรือโจรเป็นต้นจับตัวไป หรือว่าเข้าไปสู่เงื้อมมือของข้าศึกทั้งหลาย มารดาหรือบิดาเป็นผู้มีความสงสัยว่าตายแล้วก็ดี ย่อมเศร้าโศก. เมื่อบุตรพลัดตกจากต้นไม้หรือจากภูเขาเป็นต้นมีมือและเท้าหักก็ดี บอบช้ำก็ดี มีความสงสัยว่าแตกหักแล้วก็ดี มารดาหรือบิดาย่อมเศร้าโศก. บุคคลมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลายฉันใด แม้คนมีโคก็ฉันนั้น ย่อมเศร้าโศกเพราะโคทั้งหลาย โดยอาการ ๙ อย่าง.
              
บาทพระคาถาว่า อุปธี หิ นรสฺส โสจนา ความว่า เหมือนอย่างว่า บุตรและโคทั้งหลายฉันใด แม้อุปธิคือกามคุณ ๕ ก็ฉันนั้น ย่อมยังนระให้เศร้าโศก โดยนัยที่ตรัสไว้ว่า [๒]
ตสฺส เจ กามยมานสฺส     ฉนฺทชาตสฺส ชนฺตุโน 
เต กามา ปริหายนฺติ    สลฺลวิทฺโธว รุปฺปติ.
หากว่าสัตว์นั้นมีความรักใคร่ มีความพอใจเกิดแล้ว
กามเหล่านั้นย่อมยังเขาให้ย่อยยับไป เหมือนบุคคลถูกลูกศรแทงแล้ว ย่อมพินาศ ฉะนั้น.

[๒] เชิงอรรถ: ขุ. สุตฺต. เล่ม ๒๕/ข้อ ๔๐๘ กามสุตฺต
เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ความเศร้าโศกของนระ ก็คือเรื่องความเศร้าโศกนั่นแหละ.

บทว่า น หิ โส โสจติ โย นิรูปธิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายไว้ว่า อุปธิ ๔ เหล่านี้ไม่มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นย่อมไม่มีอุปธิ คือความเศร้าโศก. ดูก่อนเทวดา เพราะเหตุนั้นแหละ พระมหาขีณาสพจักเศร้าโศก หรือกำลังเศร้าโศกมีหรือ ดังนี้แล.

จบอรรถกถานันทิสูตรที่ ๒

ที่มา : http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=26

--------------------------------------

SN: 4.8

8. Nandatisuttaṃ
144. Evaṃ me sutaṃ – ekaṃ samayaṃ bhagavā sāvatthiyaṃ viharati jetavane anāthapiṇḍikassa ārāme. Atha kho māro pāpimā yena bhagavā tenupasaṅkami; upasaṅkamitvā bhagavato santike imaṃ gāthaṃ abhāsi –

 
Nandati puttehi puttimā, gomā gobhi tatheva nandati;

Upadhīhi narassa nandanā, na hi so nandati yo nirūpadhī ti.


Socati puttehi puttimā, gomā gobhi tatheva socati;

Upadhīhi narassa socanā, na hi so socati yo nirūpadhī ti.
 

Atha kho māro pāpimā jānāti maṃ bhagavā jānāti maṃ sugato ti dukkhī dummano tatthevantaradhāyīti.

Source : http://tipitaka.org/romn/cscd/s0301m.mul3.xml

--------------------------------------

SN: 4.8

I have heard that on one occasion the Blessed One was staying near Savatthi in Jeta's Grove, Anathapindika's monastery. Then Mara the Evil One went to the Blessed One and recited this verse in his presence:

Those with children delight because of their children.
Those with cattle delight because of their cows.
A person's delight comes from acquisitions, since a person with no acquisitions doesn't delight.

[The Buddha:]

Those with children grieve because of their children.
Those with cattle grieve because of their cows.
A person's grief comes from acquisitions, since a person with no acquisitions doesn't grieve.

Then Mara the Evil One — sad & dejected at realizing, "The Blessed One knows me; the One Well-Gone knows me" — vanished right there.

Source: http://bit.ly/ZtGlXd

--------------------------------------

นิมิต  ชมนาวัง
7 มีนาคม 2556