Tuesday, November 27, 2012

ผู้ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันขึ้นไป จำเป็นหรือไม่ที่ต้องบรรลุ ปฐมฌานขึ้นไป ?

ต่อปัญหาอภิปรายกันว่า จำเป็นหรือไม่ที่บุคคลจะบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบันขึ้นไปจะต้องได้ ฌานระดับปฐมฌานขึ้นไป มีหลักฐานเป็นพุทธวจน ในที่ใด อย่างไรบ้าง

ผู้ได้ปฐมฌานขึ้นไป

ภิกษุ ท ! เรากล่าวความสิ้นอาสวะ เพราะอาศัยปฐมฌาณบ้าง ; เพราะอาศัยทุติยฌาณบ้าง ; เพราะอาศัยตติฌาณบ้าง ; เพราะอาศัยจตุตถฌาณบ้าง ; เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนะบ้าง ; เพราะอาศัยวิญญาณณัญจายตนะบ้าง ; เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนะบ้าง ; เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนะบ้าง

นวก. อํ. ๒๓/๔๓๘-๔๔๔/๒๔๐.


ผู้ไม่ได้ฌาน

อยู่ระหว่างสืบค้น....

Wednesday, October 31, 2012

พระอริยบุคคลผู้ไม่ได้ฌาน มีจำนวนมากกว่า พระอริยบุคคลผู้ได้ปฐมฌานขึ้นไป

ด้วยข้อสงสัยว่า สัมมาสมาธิ ในอริยมรรคมีองค์แปดที่ดับกิเลสอย่างสิ้นเชิงนั้น จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเป็นปฐมฌานจิตขึ้นไป ผู้ไม่ได้ฌานสามารถบรรลุธรรมได้หรือไม่ ผมสืบค้นพระไตรปิฎก พบพระสูตรดังนี้

พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

[๒๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ที่เกิดบนบกมีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เกิดในน้ำมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กลับมาเกิดในกำเนิดอื่นจากมนุษย์มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่เกิดในมัชฌิมชนบทมีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เกิดในปัจจันตชนบท ในพวกชาวมิลักขะที่โง่เขลามากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่มีปัญญา ไม่โง่เง่า ไม่เงอะงะ สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่เขลา โง่เง่า เงอะงะ ไม่สามารถที่จะรู้อรรถแห่งคำเป็นสุภาษิต และคำเป็นทุพภาษิตได้มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ประกอบด้วยปัญญาจักษุอย่างประเสริฐ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ตกอยู่ในอวิชชา หลงใหลมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้เห็นพระตถาคต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้เห็นพระตถาคตมากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศไว้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคต
ประกาศไว้ มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ไม่ได้ มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้ มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย

สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถไม่รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่สลดใจในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่สลดใจเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจไม่เริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิต มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ   มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ข้าวอันเลิศและรสอันเลิศ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการแสวงหา ด้วยภัตที่นำมาด้วยกระเบื้อง มากกว่าโดยแท้

สัตว์ที่ได้อรรถรสธรรมรส วิมุติรส มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุติรส มากกว่าโดยแท้

เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีส่วนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะ เป็นส่วนมากฉะนั้น เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ได้อรรถรสธรรมรส วิมุติรส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

***สรุป***

สัมมาสมาธิที่เป็นฌานจิตก็มี ที่ไม่เป็นฌานจิตก็มี เพราะพระสูตรนี้ชี้ว่า พระอริยบุคคลผู้ไม่ได้ฌานมีมากกว่า พระอริยบุคคลผู้ได้ฌาน แสดงว่า สัมมาสมาธิในอริยมรรคมีองค์แปดเป็นสมาธิที่ต่ำกว่าฌานก็ได้

นิมิต  ชมนาวัง
30 ตุลาคม 2555


=======================================
 [๒๐๕]    เสยฺยถาปิ   ภิกฺขเว   อปฺปมตฺตกํ   อิมสฺมึ   ชมฺพูทีเป อารามรามเณยฺยกํ   วนรามเณยฺยกํ   ภูมิรามเณยฺยกํ  โปกฺขรณีรามเณยฺยกํ อถโข เอตเทว พหุตรํ  ยทิทํ  อุกฺกูลวิกูลํ  นทีวิทุคฺคํ  ขาณุกณฺฏกฏฺฐานํ
ปพฺพตวิสมํ

เอวเมว โข  ภิกฺขเว  อปฺปกา  เต  สตฺตา  เย  ถลชา อถโข  เอเตว  สตฺตา  พหุตรา  เย  โอทกา  ฯ 

เอวเมว โข ภิกฺขเว อปฺปกา   เต   สตฺตา   เย   มนุสฺเสสุ  ปจฺจาชายนฺติ  อถโข  เอเตว สตฺตา   พหุตรา   เย   อญฺญตฺร  มนุสฺเสหิ  ปจฺจาชายนฺติ  ฯ 

เอวเมว โข  ภิกฺขเว  อปฺปกา  เต  สตฺตา  เย  มชฺฌิเมสุ ชนปเทสุ ปจฺจาชายนฺติ อถโข  เอเตว  สตฺตา  พหุตรา  เย  ปจฺจนฺติเมสุ ชนปเทสุ ปจฺจาชายนฺติ อวิญฺญาตาเรสุ  มิลกฺเขสุ  ฯ 

เอวเมว  โข  ภิกฺขเว  อปฺปกา เต สตฺตา เย  ปญฺญวนฺโต  อชฬา  อเนฬมูคา ปฏิพลา สุภาสิตทุพฺภาสิตสฺส อตฺถมญฺญาตต อถโข  เอเตว   สตฺตา พหุตรา  เย  ทุปฺปญฺญา  ชฬา เอฬมูคา  น  ปฏิพลา  สุภาสิตทุพฺภาสิตสฺส  อตฺถมญฺญาตต  ฯ 

เอวเมว โข  ภิกฺขเว  อปฺปกา  เต  สตฺตา  เย อริเยน ปญฺญาจกฺขุนา สมนฺนาคตา  อถโข  เอเตว  สตฺตา  พหุตรา  เย  อวิชฺชาคตา  สมฺมูฬฺหา ฯ

เอวเมว โข   ภิกฺขเว    อปฺปกา   เต  สตฺตา  เย  ลภนฺติ  ตถาคตํ ทสฺสนาย  อถโข   เอเตว   สตฺตา  พหุตรา  เย  น  ลภนฺติ  ตถาคตํ  ทสฺสนาย เอวเมว  โข  ภิกฺขเว  อปฺปกา  เต  สตฺตา  เย ลภนฺติ ตถาคตปฺปเวทิตํ
ธมฺมวินยํ   สวนาย   อถโข   เอเตว  สตฺตา  พหุตรา  เย  น  ลภนฺติ ตถาคตปฺปเวทิตํ  ธมฺมวินยํ  สวนาย  ฯ 

เอวเมว  โข  ภิกฺขเว  อปฺปกา เต  สตฺตา  เย  สุตฺวา  ธมฺมํ  ธาเรนฺติ  อถโข  เอเตว สตฺตา พหุตรา เย  สุตฺวา  ธมฺมํ  น  ธาเรนฺติ  ฯ 

เอวเมว  โข  ภิกฺขเว อปฺปกา เต สตฺตา  เย  ธตานํ  ธมฺมานํ  อตฺถํ  อุปปริกฺขนฺติ   อถโข  เอเตว สตฺตา พหุตรา  เย  ธตานํ  ธมฺมานํ  อตฺถํ  น  อุปปริกฺขนฺติ  ฯ 

เอวเมว  โข ภิกฺขเว  อปฺปกา  เต  สตฺตา  เย  อตฺถมญฺญาย  ธมฺมมญฺญาย ธมฺมานุธมฺมํ ปฏิปชฺชนฺติ    อถโข    เอเตว   สตฺตา   พหุตรา   เย   อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย   ธมฺมานุธมฺมํ   น   ปฏิปชฺชนฺติ  ฯ 

เอวเมว  โข  ภิกฺขเว อปฺปกา  เต  สตฺตา  เย  สํ เวชนีเยสุ  ญาเนสุ  สํ วิชนฺติ  อถโข เอเตว สตฺตา  พหุตรา  เย  สํ เวชนีเยสุ  ญาเนสุ  น  สํ วิชนฺติ  ฯ

เอวเมว โข ภิกฺขเว   อปฺปกา   เต  สตฺตา  เย  สํ วิคฺคา  โยนิโส  ปทหนฺติ  อถโข  เอเตว  สตฺตา  พหุตรา  เย  สํ วิคฺคา  โยนิโส  น  ปทหนฺติ ฯ

เอวเมว โข  ภิกฺขเว  อปฺปกา  เต  สตฺตา  เย  ววสฺสคฺคารมฺมณํ  กริตฺวา ลภนฺติ สมาธึ   ลภนฺติ   จิตฺตสฺเสกคฺคตํ อถโข  เอเตว  สตฺตา  พหุตรา  เย ววสฺสคฺคารมฺมณํ กริตฺวา  น  ลภนฺติ  สมาธึ  น  ลภนฺติ จิตฺตสฺเสกคฺคตํ ฯ

เอวเมว  โข  ภิกฺขเว  อปฺปกา  เต  สตฺตา เย อนฺนคฺครสคฺคานํ ลาภิโน อถโข  เอเตว  สตฺตา  พหุตรา  เย  อนฺนคฺครสคฺคานํ น ลาภิโน อุญฺเฉน  กปาลภตฺเตน  ยาเปนฺติ  ฯ 

เอวเมว  โข  ภิกฺขเว  อปฺปกา  เต สตฺตา เย   อตฺถรสสฺส   ธมฺมรสสฺส   วิมุตฺติรสสฺส   ลาภิโน   อถโข  เอเตว
สตฺตา  พหุตรา  เย  อตฺถรสสฺส  ธมฺมรสสฺส  วิมุตฺติรสสฺส  น  ลาภิโน ฯ

ตสฺมา  ติห  ภิกฺขเว  เอวํ  สิกฺขิตพฺพํ  อตฺถรสสฺส  ธมฺมรสสฺส วิมุตฺติรสสฺส  ลาภิโน ภวิสฺสามาติ เอวํ หิ โว ภิกฺขเว สิกฺขิตพฺพนฺติ ฯ

Tuesday, October 30, 2012

ชาวแคว้นมคธในสมัยพุทธกาลผู้ได้บรรลุเป็นพระโสดาบันมีจำนวนอย่างน้อยสองล้านสี่แสนคน

ผมสืบค้นพระไตรปิฎกหาคำว่า "สัมมาสมาธิ' พบพระสูตรชื่อว่า ชนวสภสูตร กล่าวถึงข้อสงสัยของชาวแคว้นมคธ ว่า พระเจ้าพิมพิสาร พระมหากษัตริย์แห่งแคว้นมคธ  เมื่อเสด็จสวรรคตแล้วทรงเกิดในที่ใด เป็นเหตุให้พระอานนท์ทูลเลียบเคียงถามพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงทราบด้วยพระญาณอยู่แล้ว แต่เพื่อเป็นการยืนยันพระญาณของพระองค์ จึงทรงตรัสเล่าเหตุการณ์ในสรรค์ชั้นดาวดึงส์ เมื่อมีพรหมองค์ใหม่ชื่อ สนังกุมารพรหม บังเกิดขึ้นในพรหมโลก พรหมนั้นได้แสดงฤทธิ์ให้ประจักษ์แต่ท้าวมหาราชทั้งหลายในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความตอนหนึ่ง กล่าวถึงจำนวนของชาวแคว้นมคธผู้เป็นพุทธบริษัทซึ่งได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ความว่า

"ดูกรท่านผู้เจริญ ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อย่างแน่นแฟ้น ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า ชอบใจ ชนเหล่านี้เป็นโอปปาติกะ อันพระผู้มีพระภาคทรงแนะนำแล้วในธรรม ชาวมคธผู้บำเรอเกินสองล้านสี่แสนคน ทำกาละล่วงไปนานแล้ว เป็นพระโสดาบัน   เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ อย่าง มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ข้าพเจ้ากลัวการพูดเท็จ จึงไม่อาจคำนวณได้ว่า ในชนเหล่านี้มี พระสกทาคามีเท่าไร และหมู่สัตว์นอกนี้บังเกิดด้วยส่วนบุญ"

ท้าวเวสสวรรณมหาราช ได้ฟังคำนี้จากสนังกุมารพรหม จึงบอกเล่าให้เทวดาผู้อยู่ใต้ปกครองฟัง หนึ่งในนั้นมีเทวดาชื่อ ชนวสภะยักษ์ ซึ่งก็คือ พระเจ้าพิมพิสารในอดีตผู้เป็นพระโสดาบัน น้่นเอง ชวนสภะยักษ์ได้กราบทูลคำของสนังกุมารพรหมที่ตนได้ฟังมาจากท้าวเวสสวรรณมหาราช แด่พุทธเจ้า พระองค์จึงตรัสบอกต่อแก่พระอานนท์ ซึ่งพระอานนท์ได้ทรงจำไว้แล้วเล่าต่อมาดังปรากฎในพระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค ชนวสภสูตรที่ ๕ (๑๘) ข้อที่ ๑๘๗

***สรุป***
ชาวแคว้นมคธซึ่งเป็นพุทธบริษัทผู้บรรลุโสดาบัน ตายไปแล้วบังเกิดในเทวโลก มีอย่างน้อยสองล้านสี่แสนคน ยังไม่นับที่บังเกิดในโลกอื่น

นิมิต  ชมนาวัง
30 ตุลาคม 2555